ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เรื่องที่แนะนำ

ฟาหลางไฉ่ (琺瑯彩) นวตกรรมสีบนเครื่องกระเบื้องจีนสมัยราชวงศ์ชิง

ตอนที่ 1 ฟาหลางไฉ่ พ่อ หยางไฉ่ ทุกสถาบัน และแล้วก็ได้ฤกษ์เรียบเรียงเกี่ยวกับสีฟาหลาง หรือ ฟาหลางไฉ่ (琺瑯彩)สักทีครับ หลังจากที่ได้จัด "โต้วไฉ่" (鬥彩) กับ "หยางไฉ่" (洋彩) ไปแล้ว ว่าด้วยพัฒนาการด้านการเขียนสีบนกระเบื้องเคลือบจีนแล้ว "ฟาหลางไฉ่" นั้นอยู่ตรงกลางระหว่าง "โต้วไฉ่" กับ "หยางไฉ่" ถ้าจะว่าด้วยความหมายแล้ว ฟาหลาง 琺瑯 นั้นหมายถึงการเคลือบ หรือที่ฝรั่งเรียก enamel ไทยใช้คำว่า ลงยาสี ส่วนคำว่าไฉ่ 彩 หมายถึงสี รวมความแล้ว 琺瑯彩 จึงหมายถึงสีเคลือบ "โต้วไฉ่" นั้นเป็นสีที่พัฒนาขึ้นมาในรัชศกหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิง ทำได้สำเร็จในรัชศกซวนเต๋อ และถึงจุดพีคสุดในรัชศกเฉิงฮวา โดยมีถ้วยไก่พันล้านเป็นตัวอย่างของการเขียนสีเทคนิคโต้วไฉ่ที่รู้จักกันแพร่หลาย เทคนิคนี้มีลักษณะพิเศษคือการเผาสองครั้ง โดยครั้งแรกเขียนสีครามด้วยโคบอลต์ใต้น้ำเคลือบ เพราะสีครามจากโคบอลต์เผาอุณหภูมิสูง สีครามใต้เคลือบนี้จะทำหน้าที่เป็นกรอบร่างของภาพที่จะเขียน เมื่อเผาแล้วจึงนำมาแต้มสีเหลือง แดง เขียว และมีสีพิเศษคือสีม่วงเบอกันดี สีที่แต้มครั้งที่สองนี้จ

โพสต์ล่าสุด

แดงฉ่ำล้ำค่า บูชาฟ้าเกียรติเกริกไกร

เจาะลึกเครื่องกระเบื้องหยางไฉ่ของจักรพรรดิเฉียนหลง